Thursday, October 22, 2009

Non-toxic vegetables

Today I will talk about the unpolluted/non-toxic vegetables. In this term I mean the vegetables without the anti-bug/fungi spraying. This morning I read the news about professor in Thanmasat University‘s work. He said about his occupation in turning the house-hold waste in to be the fertilizer and plating the non-toxic vegetables in the plastic bags. I heard this idea before; however, it’s hardly famous in Thailand (just only in my opinion). Still, I like the ways he thinks. Let’s talk about something near my life which may be it’s a good illustration. Usually, in the big shops in Switzerland, there is one section for the non-toxic vegetable. It’s quite obvious that the prices are a bit expensive than the normal ones. Yet, Swiss people buy them. I found that people in here basically take care themselves well. There are not a lot of fat/chubby people here comparing to Germany (my German friend told me). It’s often that you will see the old people cycling, jogging and hiking or even in the GYM. Noticeably, they also seriously choose what they will eat. Because of their culture and behavior, I think these are the main reasons. Ok, let’s move back to Thailand. I still believe that there are a lot of hidden demands for the non-toxic vegetables/fruits in the big city like Bangkok. Furthermore, the new generation of city people generally takes care of themselves as you have seen from the growth of foreign fitness center. As a result, I think, the growth of non-toxic vegetables/fruits is not far from our imagining.





























เรื่องง่ายๆ อีกเรื่องของคนรักษ์โลก เขาใช้ของเหลือใช้พวกกิ่งไม้ ตอไม้ เศษอาหารมาทำปุ๋ยและดินอินทรีย์ และที่ง่ายไปกว่านั้นคือปลูกผักในถุง วิธีแบบนี้ขอย้ำว่าเป็นเรื่องการบูรณาการ

“ผมใช้ของที่คนอื่นทิ้งๆ ขว้างๆ มาทำให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันพืชผักมีการใช้สารเคมีเยอะ และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผมทำเรื่องบูรณาการการเลี้ยงหมูชีวภาพและเกษตรไร้สารมานาน ผมชอบการเกษตร เลี้ยงสัตว์ปลูกพืชผัก อย่างปัสสาวะหมูมีกลิ่นเหม็น แต่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ผมพยายามศึกษาเรื่องการเลี้ยงหมูไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ผมเคยทำวิจัยเรื่องการเลี้ยงหมูบนขี้เลื้อยและได้ผล แต่ตอนหลังขี้เลื้อยแพง ผมก็เลยคิดวิธีการใหม่ ผมเห็นว่า ในมหาวิทยาลัยมีการตัดแต่งต้นไม้ข้างทางบ่อยๆ มีใบไม้กิ่งไม้เยอะ ผมก็ขอมาทำปุ๋ย นำของเหลือใช้พวกนี้มากองบนพื้นเล้าหมูให้หมูย่ำ นี่คือ การทำปุ่ยหมักดีๆ นี่เอง“ รศ.กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต กล่าว

อาจารย์กษิดิศ เริ่มจากการใช้วัสดุเหลือใช้ ช่วยดูแลทั้งสิ่งแวดล้อมและได้บูรณาการองค์ความรู้ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ซึ่งได้ผลอย่างเหลือเชื่อ ยกตัวอย่าง การเอาใบไม้กิ่งไม้มากองรวมกันในเล้าให้หมูเหยียบย่ำ นอกจากช่วยดูดกลิ่นอุจจาระปัสสาวะ ยังทำเป็นปุ๋ยหมักได้ด้วย

"เมื่อนำออกจากเล้าหมู ผมเอามากองรวมกัน คลุมด้วยพลาสติก 3-4 สัปดาห์ กิ่งไม้และขี้หมูก็ค่อยๆ ย่อยสลายเป็นดินนำมาปลูกผักได้" อาจารย์กษิดิศ เล่าและบอกว่า “ดินพวกนี้ใช้ปลูกผักในถุงดำ งามดีกว่าดินผสมที่ขายตามปั๊ม เพราะปุ๋ยอินทรีย์ได้ดูดซับธาตุอาหารไว้เยอะ สามารถปลูกต้นไม้ได้โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยใดๆ เพิ่ม”

หากไม่มีมูลหมู อาจารย์กษิดิศ แนะวิธีการทำดินใช้เองสำหรับคนเมืองว่า อาจใช้เศษอาหารที่จะนำไปทิ้งในถังขยะมากองคลุกรวมกับใบไม้ที่บ้าน รับรองได้ว่าไม่มีกลิ่นเหม็น วิธีการนี้จะต่างจากทิ้งเศษอาหาร เศษผลไม้ไว้เฉยๆ จะมีกลิ่นเหม็น

ข้อสำคัญต้องมีใบไม้ เพราะมันช่วยดูดซับจุลินทรีย์ให้ย่อยสลายได้ดี ยิ่งใบไม้แห้งยิ่งดี จากนั้นเอาตาข่ายพลาสติกคลุมเพื่อกันฝนชะ การคลุมแบบนี้เพื่อรักษาความชื้นให้จุลินทรีย์ย่อยสลาย ซึ่งวิธีการแบบนี้สามารถทำดินได้หลายกอง

“ถ้าไม่มั่นใจ ลองเอามือสัมผัส ดูจากสีและกลิ่นมีความหอมดิน ชิ้นใบไม้ละเอียดสามารถนำมาใช้ได้เลย"

จากนั้นเอาดินชีวภาพมาปลูกผักในถุงละหนึ่งต้น แค่รดน้ำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกลัวแฉะ เพราะการระบายน้ำดีมาก ผักที่อาจารย์กษิดิศทดลองปลูกมีตั้งแต่ผักชี ผักกาด คื่นฉ่าย ฯลฯ จากเขาลองนำไปขายต้นละห้าบาท ปรากฏว่า ขายได้ เพราะคนซื้อชอบเหมือนไม้ประดับ และสามารถตัดผักสดๆ ไร้สารกินได้เลย

“อย่างคะน้าตัดเฉพาะยอด จากนั้นอีกสิบวันก็ตัดกินได้อีก ผมใช้พื้นที่เล็กๆ ของมหาวิทยาลัยทำเล้าเลี้ยงหมูชีวภาพ ปลูกผักในกระถางและถุงดินเล็กๆ เลี้ยงปลาดุก และทำน้ำหมักชีวภาพ ที่บ้านผมก็ปลูกผักแบบนี้ เวลาผมอยากทำแกงจืด ผมก็เด็ดผักสดๆ จากกระถางได้เลย"

การปลูกผักง่ายๆ แบบนี้ อาจารย์กษิดิศเคยเปิดคอร์สสอนให้ฟรี เพราะอยากให้คนเมืองปลูกผักกินเอง

เลี้ยงหมูชีวภาพ
แม้หมูพันธุ์ที่อาจารย์กษิดิ ศเลี้ยงต้องให้อาหารสำเร็จรูปในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นเขาใช้เศษอาหารในมหาวิทยาลัยมาต้มน้ำคลุกกับผักเลี้ยงหมู

“หมูที่ผมเลี้ยงปลอดจากสารเร่งเนื้อแดง แม้หมูจะโตช้าแต่คนกินได้อาหารที่ดี ก็มีคนมาดูงาน แต่คนไปทำแบบไม่ยั่งยืน เพราะวิถีการเลี้ยงหมูแบบชาวบ้านเปลี่ยนไป จากพันธุ์พื้นเมืองเลี้ยงง่าย มันเยอะ เนื้อแดงน้อย เปลี่ยนมาเลี้ยงพันธุ์ต่างประเทศด้วยอาหารสำเร็จรูป โตเร็วแต่มีกลิ่นเหม็น เนื้อแดงเยอะ มันน้อย แต่ต้นทุนสูง หมูพวกนี้เลี้ยงดูหยวกกล้วย ผักตบไม่ได้แล้ว"

อาจารย์กษิดิศอยากให้ชาวบ้านกลับมาเลี้ยงหมูพันธุ์พื้นเมืองเหมือนเดิม ข้อสำคัญไม่ควรเร่งให้โตเร็ว ต้องลดอาหารสำเร็จรูป เลี้ยงแบบชีวภาพให้หมูย่ำเศษใบไม้ กิ่งไม้ ใบหญ้าเพื่อลดกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นโครงการที่เขาพยายามทำ
อีกอย่างที่อาจารย์กษิดิศใช้คือ น้ำสมุนไพรเพื่อใช้เลี้ยงหมูและไล่แมลง ซึ่งได้ผลมาก และไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงใดๆ ในการต้มน้ำร้อน

“ผมเอาเศษอาหารมาหมักกับกากน้ำตาล ทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ เศษอาหารพวกนี้จะไม่มีกลิ่นเหม็น แต่มีกลิ่นคล้ายของดอง เราก็นำมาผสมกับรำให้หมูกิน หมูกินแล้วจะทำให้ระบบย่อยอาหารดี นอกจากนี้ยังนำมาผสมน้ำพ่นเล้าหมูควบคุมกลิ่นและหนอนแมลงวันได้ด้วย “

นอกจากนี้อาจารย์กษิดิศยังใช้เศษไม้เหลือใช้ในมหาวิทยาลัยมาเผาเป็นถ่าน และทำน้ำส้มควันไม้ จากนั้นนำถ่านมาบดให้หมูกิน เพื่อดูดซับสารพิษและแก้ท้องเสีย

"บางครั้งก็เอาถ่านพวกนี้ผสมกับปุ๋ยหมักทำให้ดินดี เพราะเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ผมใช้ถ่านพวกนี้ไปย่างปลาดุกที่ผมเลี้ยงด้วยหนอนมูลไก่และเศษอาหาร ผมใช้ของทิ้งๆ ขว้างๆ อย่างดินจอมปลวก ผมก็ให้คนขุดมาเลี้ยงปลาดุก "

ขุมทรัพย์ในกองขยะ
แม้เรื่องเล็กๆ ที่อาจารย์กษิดิศทำในแปลงทดลองทั้งการเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงหมู ปลูกต้นไม้ในถุง รวมถึงผลิตน้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้และการเผาถ่าน แม้จะมาจากวัสดุเหลือใช้ในมหาวิทยาลัย ก็ต้องมีต้นทุนบ้าง

อาจารย์กษิดิศบอกว่า ใช้เงินส่วนตัวลงทุน อีกอย่างเป็นการบูรณาการความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน เพราะเป็นการทำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคนมาช่วยก็เป็นคนในชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัยมาลงแรง ถ้ามีกำไรก็แบ่งให้

แม้กระทั่งขยะในมหาวิทยาลัย อาจารย์กษิดิศยังเห็นว่า สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชน และไม่น่าเชื่อว่า เดือนหนึ่งทำรายได้กว่าหนึ่งแสนบาท

“ขยะพวกนี้ถูกแม่บ้านเลือกพวกกระดาษและพลาสติกไปแล้วรอบหนึ่ง ขยะที่เหลือในถุงดำที่จะฝั่งกลบ ผมเอาชาวบ้านมาคัดขยะ แล้วให้รายได้กับพวกเขา ผมแค่บริหารจัดการระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย”

วิธีการคัดขยะที่อาจารย์กษิดิศวางแนวทางไว้คือ ผู้คัดขยะต้องใส่ถุงมือ รองเท้าบู้ต และใส่หน้ากาก

“ข้อสำคัญการแยกขยะแบบนี้ไม่ต้องเดินหา พวกเศษเหล็ก แก้ว ขวด ขายได้หมด มีพลาสติกอีกหลายชนิดที่ผ่านตาคนคัดขยะรอบแรก ถุงพลาสติกบางๆ ที่ใส่ของนำมาขายได้ แผ่นซีดีที่คนทิ้ง ซึ่งผมไม่เอารายได้ตรงนี้ แต่เวลามีงานอะไรให้คนงานทำ เขาก็มาช่วยเรา”

อีกเรื่องที่อาจารย์กษิดิศกำลังจะทำคือ นำถังกากน้ำตาลผสมน้ำตั้งไว้ในโรงอาหาร แล้วขอความกรุณาให้นักศึกษาทิ้งเศษอาหารในถังเพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ

“เศษอาหารที่หมักในส่วนนี้ ผมนำมาเลี้ยงปลา นำน้ำหมักชีวภาพมาบำบัดกลิ่นเหม็นและผสมน้ำรดต้นไม้”

แม้จะเป็นเรื่องง่ายๆ ทั้งเรื่องน้ำหมักชีวภาพ แต่มีหลายคนทำไม่เป็น เพราะนึกไม่ออก ถ้าไม่มีกากน้ำตาล ก็ใช้น้ำตาลทรายแดงหรือผลไม้รสหวานมาผสมน้ำคลุกกับเศษอาหาร ทำให้เกิดจุลินทรีย์ย่อยสลายได้

"การปลูกผักด้วยดินอินทรีย์ในถุง จะมีการสาธิตในงานผลิตภัณฑ์อินทรีย์และผลผลิตตลาดสีเขียวชุมชนที่อุทยานเบญจ สิริ ช่วงวันที่ 10-13 ธันวาคมนี้

การปลูกผักแบบชีวภาพไม่ยากเลย ผมจะสอนวิธีทำดินด้วย อยากเผยแพร่ให้ความรู้การปลูกผักในพื้นที่เล็กๆ ซึ่งง่ายมาก ผมคิดว่า คนเมืองก็อยากปลูกผักแบบนี้ เป็นความสุขเล็กๆ ทางมหาวิทยาลัยก็เคยอบรมให้ผู้สนใจ หากผมเกษียณเมื่อใด ผมจะทำเป็นศูนย์เรียนรู้ ”

ในอนาคตอันใกล้ อาจารย์กษิดิศบอกว่า จะทำเป็นมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านทำเกษตรอินทรีย์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต กำลังจะเปิดสอนระดับปริญญาโทด้านเกษตรอินทรีย์ โดยรับคนจบปริญญาตรีทุกสาขา

เมื่อถามว่าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องทำเรื่องพวกนี้ให้ชุมชน ด้วยหรือ อาจารย์กษิดิศบอกว่า เมื่อเราเห็นคนมีทุกข์แล้วสร้างสุขให้พวกเขาได้ เราก็มีความสุข

“แรกๆ ที่ผมเข้าไปสนับสนุนเรื่องพวกนี้ มีคนในชุมชนถามผมว่า ถ้าผลิตออกมาแล้ว อาจารย์จะรับผิดชอบเรื่องการตลาดให้ไหม เพราะผักอินทรีย์หน้าตาไม่งามเหมือนผักที่ปลูกด้วยสารเคมี ชาวบ้านคนหนึ่งก็ลองปลูกถั่วฝักยาวโดยไม่ใช้เคมี ผมก็เอามาแพ็คใส่ถุงขายที่ตลาดนัดโรงพยาบาลในธรรมศาสตร์
โดยวางกระป๋องให้หยอดเงิน ก็ขายได้”

หลังจากเกษตรกรเห็นว่า ขายได้ จึงมาขายด้วยตัวเองผ่านมากว่าสี่ปีแล้ว อาจารย์กษิดิศ บอกว่า “ผมอยากให้ลองปลูกผักไร้สาร ถ้าไม่มีพื้นที่ ก็ปลูกในถุงแบบนี้แหละ”

No comments:

Post a Comment